วันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557

24 วิธีเอาชนะหุ้น

เล่นหุ้นลงทุนในหุ้นพูดไปแล้วไม่ใช่เรื่องยากเรื่องเย็นอะไรพกเงินมาเข้าหาโบรกเกอร์เปิดพอร์ตเล่นหุ้นก็ซื้อขายหุ้นได้แล้ว แต่ที่หวังจะชนะตลาด กำไรจากหุ้นนี่ซิคงไม่ใช่เรื่องง่ายแน่ ๆ เพราะเท่าที่เห็นนักลงทุนผู้เล่นหุ้นส่วนใหญ่กลายเป็นแมงเม่าในตลาดหุ้นร้องกันระงม ส่วนพวกที่ประสบความสำเร็จก็มีบ้างแต่ก็เป็นเพียงส่วนน้อย การหวังชนะตลาดหุ้น เล่นหุ้นแล้วรวยคงไม่มีสูตรตายตัวแน่ แต่ก็มีกลยุทธ์แม่ไม้หลายขบวนท่าที่นักลงทุนผู้เล่นหุ้นควรต้องศึกษาเพื่อนำมาใช้เป็นเกาะป้องกันตัวและเป็นเครื่องมือแสวงหาความสำเร็จต่อไป ณ ที่นี้ขอนำวิธีเล่นหุ้น 24 ขบวนท่ามาฝากเพื่อเอาชนะหุ้น ส่วนจะได้ผลมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับท่านทั้งหลาย จะนำไปปรุงแต่งปรับเปลี่ยนกลยุทธ์สร้างแนวคิดต่อยอดค้นหาความสำเร็จกันต่อไป



1. อย่ากลัวกับเรื่องที่จะเสียเวลาต่อการไขว้คว้าหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องหุ้น
เพราะเรื่องราวของการลงทุนในตลาดหุ้นนั้นมีอะไรให้เรียนรู้มากมายหลายเรื่องไม่จบสิ้น การลงทุนในตลาดหุ้นก็เหมือนกับการทำธุรกิจบริหารบริษัทให้เกิดกำไรดังนั้นต้องรู้จักแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มเติมให้มาก ๆ

2. จงจดจำรายละเอียดเกี่ยวกับตัวหุ้น กลุ่มผู้บริหาร การประกอบธุรกิจ ความเป็นมาเป็นไปของ บริษัททั้งอดีตและปัจจุบัน เพื่อเป็นการตอกย้ำความทรงจำต่อตัวหุ้นทุกแง่ทุกมุม

3. ต้องเข้าถึงข้อมูลทั้งเชิงลึกและตื้นเพื่อให้รู้เท่าทันถึงคุณค่าของตัวหุ้น ในยุคสมัยนี้มีสิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นตัวแปร เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจธุรกรรมของบริษัทจดทะเบียนนั้นมีมากเหลือเกิน เช่น การเพิ่มทุน การลดทุน การออกวอแรนต์ การออกหุ้นกู้ การร่วมทุน ฯลฯ ดังนั้นเราจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องศึกษาในตัวหุ้นที่สนใจอย่างลึกซึ้งเพื่อเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องที่สุดให้ได้



4. ให้น้ำหนักที่จะซื้อหรือถือครองในตัวหุ้นที่มีอัตราการเติบโตที่ดีเท่านั้น เพราะหุ้นในกระดานมีให้เลือกมากมายหลายตัว จึงควรเปรียบเทียบประเมินถึงมูลค่าหุ้นแต่ละตัวโดยเฉพาะการพิจารณาถึงผลการดำเนินงานของหุ้นในอนาคตว่าจะมีอัตราการเติบโตเป็นเช่นใด และก็ควรเลือกหุ้นที่มีอัตราการเติบโตโดดเด่น เพื่อความสำเร็จต่อการลงทุนที่ดีของเรา

5. อย่าปล่อยให้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผลในการตัดสินใจต่อการลงทุนทุกครั้งทุกรอบ เพราะการใช้อารมณ์ในการตัดสินลงทุนมักก่อให้เกิดความผิดพลาดได้เสมอ หลักในการลงทุนที่แท้จริงนั้นควรต้องใช้เหตุและผลเข้าอ้างอิงพิจารณาลงทุน ดังนั้นการใช้อารมณ์จึงไม่ใช่เครื่องมือที่นำมาตัดสินใจลงทุน

6. เมื่อมีปัญหาในการลงทุนควรใช้หลักแห่งความน่าจะเป็น หรือความเป็นไปได้ในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นตามมาให้ได้

7. ในขณะที่แนวโน้มตลาดหุ้นทรุดตัวลง อย่าปล่อยให้เวลาผ่านพ้นไปโดยไม่แก้ไข หรือปรับปรุงพอร์ต เพราะนั่นเท่ากับว่าเรายอมพ่ายแพ้ต่อภาวะตลาดซึ่งจะทำให้เสียหายและแก้ไขยากเมื่อเวลาผ่านไปนานๆ

8. ควรตัดสินใจอย่างฉับพลันที่จะซื้อหรือขายหุ้นโดยทันที เมื่อมองเห็นหรือสามารถคาดการณ์ภาวะตลาดว่าจะไปในทิศทางไหน

9. มีขอบเขตในการปรับตัว พร้อมเปลี่ยนแปลงต่อภาวการณ์ลงทุนได้ทุกเมื่อ เพราะการปรับเปลี่ยนที่คล่องตัว ย่อมทำให้ได้เปรียบต่อการลงทุนอย่างยิ่ง

10. ห้ามโกหกตัวเองด้วยความคิดที่เข้าข้างตนเองเสมอ ทั้งที่ข้อมูลชี้ชัดว่าทิศทางแนวโน้มจะเป็นเช่นใด ราคาหุ้นเริ่มตอบสนองความเล วร้ายในแง่ปัจจัยกระทบ แต่ตัวเองกับมองว่าเดี๋ยวทุกอย่างคงคลี่คลายดีขึ้น เพราะตัวเองถือหุ้นอยู่ นั้นจะทำให้ท่านไม่สามารถค้นหาความจริงได้

11. อย่าคาดคั้นหาคำตอบในทางตรงกันข้ามกับความเป็นจริง เช่น ทำไมหุ้นตัวนี้ไม่ขึ้น หุ้นตัวนั้นไม่วิ่ง ทั้งที่ความจริงหุ้นตัวนั้น ๆ มีปัจจัยพื้นฐานแย่ เพราะอาจทำให้เราเกิดหลงทางได้

12. จงพยายามฝึกฝนตนเองเกี่ยวกับการลงทุนในหุ้นให้เกิดการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ ทั้งแง่การติดตามปัจจัยพื้นฐาน และปัจจัยทางด้านเทคนิค

13. ไม่ควรคาดหวังกับผลการลงทุนในเชิงบวกมากเกินไปนัก เพราะอาจทำให้ผิดหวัง จงจำไว้เสมอว่าการลงทุนในตลาดหุ้นความแน่นอนคือความไม่แน่นอนเพียงแต่ว่าเราควรหาวิธีลดความเสี่ยงในการลงทุนให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้แค่นั้นก็เพียงพอแล้ว

14. ห้ามยึดติดกับการชักชวนหรือชี้นำของใครคนใดคนหนึ่งให้ซื้อหรือขายหุ้น โดยที่เราเองไม่ได้ไตร่ตรองเสียก่อน นั่นเท่ากับว่าเรานั้นไม่มีหลักคิดในการลงทุนเลยแม้แต่น้อยซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายตามมาได้

15. ซื่อสัตย์ต่อตนเองเสมอ โดยเฉพาะในเรื่องของหลักการลงทุน เราจะลงทุนในหุ้นโดยไม่ออกนอกกรอบกติกา เช่นไม่ไล่ซื้อหุ้นด้วยอารมณ์ ไม่ขายหุ้นเพราะคล้อยตามผู้อื่น ไม่ซื้อหุ้นเกินตัว ถ้าเราซื่อสัตย์ต่อตนเองต่อกติกา เราก็สามารถแสวงหากำไรและหลีกเลี่ยงความเสี่ยงได้ในระดับหนึ่งอย่างแน่นอน

16. ควรให้โอกาสตนเองเสมอในการแก้ไขข้อผิดพลาด เพราะการลงทุนย่อมเกิดความผิดพลาดได้ทุกเมื่อ ดังนั้นไม่ควรท้อแท้หรือเบื่อหน่ายตนเอง แต่ควรหาจุดแก้ไขข้อบกพร่อง ขจัดจุดอ่อน และแสวงหาจุดแข็ง เพื่อการลงทุนที่ถูกหลักถูกต้องต่อไป

17. อย่าทำตัวเป็นคนเก่งในตลาดหุ้นโดยไม่ยอมรับข้อมูลใด ๆ อย่าเชื่อมั่นตนเองจนเกินเลย เพราะอาจทำให้เราเวียนวนอยู่ในมุมอับของข้อมูล และจะไม่สามารถเข้าถึงสิ่งที่เป็นจริงเหนือความคิดของตนเองได้

18. จงแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ เปิดวิชั่นให้กว้างไกล อย่าสกัดกั้นตนเองในกรอบแคบ ๆ ควรรับรู้ข่าวสารข้อมูลให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และควรรู้จักประเมิน พิจารณาใช้วิจารณาณอย่างถูกต้องเพื่อการลงทุนที่จะได้มาซึ่งผลประโยชน์มากที่สุด

19. ต้องรู้จักการเรียนรู้ นึกถึงข้อดี ข้อเสีย ในการลงทุนทุก ๆ จุดที่ผ่านมา ค้นหาความได้เปรียบเสียเปรียบ เพื่อนำมาปรับปรุง ให้ได้จุดแข็งที่ดีที่สุดต่อการลงทุนในอนาคต

20. มีความรู้สึกที่ยินดี แสดงความดีใจกับเพื่อนนักลงทุนที่คุ้นเคยเมื่อพวกเขาเหล่านั้นสามารถทำกำไรจากตลาดหุ้นได้ และหลีกเลี่ยงการแสดงอาการหรือคำพูดที่ส่อเสียดก้าวร้าวกับเพื่อนนักลงทุน เพราะจะทำให้เรานั้นขาดมิตร และไร้เพื่อนคู่คิดต่อการลงทุนได้

21. อย่าปิดกั้นตนเองในการมองหุ้นหรือค้นหาหุ้นทั้งกระดานเพียงแค่คิดจะเล่นหุ้นอยู่ในกลุ่มไม่กี่หมวดกี่ตัวเท่านั้น เพราะหุ้นในกระดานกว่า 500 ตัว มีให้เลือกอย่ามองเพียงแค่หุ้นสองสามตัวที่คุ้นเคยเท่านั้นเอง

22. รู้จักที่จะมองหุ้นพิจารณาว่าซื้อหรือขายด้วยการทำการบ้าน ประเมินมูลค่าหุ้นมองทิศทางหุ้นด้วยตนเอง ซึ่งจะทำให้เรานั้นสามารถรู้ลึกรู้คุณค่าหุ้นที่เหมาะสมและลงทุนได้ถูกต้องถูกตัวในเวลาที่เหมาะสม

23. คิดถึงอนาคตเสมอ จะซื้อหุ้นควรมองมูลค่าหุ้นในอนาคต ควรคาดการณ์ผลการดำเนินงานในอนาคต เพราะราคาหุ้นนั้นจะเดินหน้าหรือถอยหลังคงขึ้นอยู่กับการดำเนินงานที่แท้จริงในอนาคตเท่านั้นเอง

24. ต้องรู้จักรักตัวเองให้มาก ๆ อย่างที่รู้ ๆ กันอยู่แล้วว่าการลงทุนนั้นมีความเสี่ยงสูง พลาดท่าเสียทีอาจจะเสียคนหมดอนาคตได้ ด้งนั้นการลงทุนทุกรอบทุกครั้งควรตระหนักพิจารณาอย่างถ้วนถี่หากมองแล้วมีโอกาสชนะมากกว่า 70 ถึง 80 เปอร์เซนต์ค่อยน่าสู้ จงคิดถึงตัวเองและรักตัวเองเสมอเพราะถ้าลงทุนแล้วผิดพลาดเราเองนั้นละที่จะเจ็บปวดสุด ๆ

วันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ประวัติ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร เกิดในครอบครัวคนจีนยากจนที่กรุงเทพมหานครในย่านตรอกจันทน์ เขตยานนาวา เขาไม่ทราบแม้วันเกิดที่แท้จริงของตัวเอง บิดามารดาเป็นคนจีนกวางตุ้ง เดินทางมาจากเมืองจีนแบบเสื่อผืนหมอนใบ สมัยเด็กอยู่บ้านหลังคามุงจาก พ่อเป็นช่างก่อสร้าง หาเช้ากินค่ำ ความเป็นอยู่ลำบากมาก ของขวัญวันเกิดที่วิเศษมากสำหรับเขาคือได้กินบะหมี่หนึ่งชาม

ดร.นิเวศน์มีพี่น้องสามคน โดยตัวเองเป็นคนสุดท้อง และเป็นคนเดียวในครอบครัวที่ได้เรียนหนังสือ เด็กชายนิเวศน์เริ่มเรียนหนังสือที่ “โรงเรียนวัดดอน” (วัดที่ร่ำลือไปทั่วประเทศว่ามีป่าช้าผีดุมาก คือ “ป่าช้าวัดดอน” นั่นเอง) จนถึง ป.7 แล้วมาศึกษาต่อมัธยมศึกษาที่ รร.วัดสุทธิวราราม จนถึง ม.3 ก่อนจะสอบเข้า ม.ปลาย ที่ รร.เตรียมอุดมศึกษา

สมัยเด็ก เขาเคยทำการค้าเล็กๆ น้อยๆ โดยซื้อหมากฝรั่งหนึ่งแถวราคา 7.50 บาท เอามาขายปลีก ขายจนหมดทั้งแถวได้เงิน 11 บาท แล้วเอาไปซื้อขนมอื่นๆ จากตลาดน้อยมาขายเพิ่ม (คล้ายกับวอร์เรน บัฟเฟตต์ ที่ซื้อโค้กหนึ่งแพ็คมาขายปลีกยังไงยังงั้น)

ดร.นิเวศน์เป็นคนเรียนดีมาโดยตลอด วิชาที่เขาชอบมากคือคณิตศาสตร์และเรขาคณิต แม้จะเรียนเก่ง แต่เขาไม่สนใจที่จะเรียนแพทย์ เพราะไม่ชอบวิชาชีววิทยา และรู้สึกว่าอาชีพหมอใช้เวลาเรียนนานเกิน เนื่องจากตัวเขาฐานะยากจน จึงอยากเรียนจบเร็วๆ เพื่อออกมาทำงานหาเงินใช้มากกว่า ทำให้ตัดสินใจสอบเอ็นทรานซ์เข้าเรียนที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาเครื่องกล

ระหว่างเรียนที่จุฬาฯ ดร.นิเวศน์ทำกิจกรรมทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการออกค่าย สร้างฝายเก็บน้ำ ทำห้องสมุดให้กับเด็กยากไร้ ฯลฯ ซึ่งทำให้เขาได้เห็นโลกในมุมมองที่กว้างขวางขึ้น เขาบอกว่า ประสบการณ์ชีวิตสมัยเรียนปริญญาตรี มีส่วนสำคัญที่สุดในการหล่อหลอมให้เขาเป็นตัวเขาอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้

หลังจากเรียนจบ งานแรกของ ดร.นิเวศน์ คือทำงานที่โรงงานน้ำตาลแห่งหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ที่ต่างจังหวัด เหตุผลที่เลือกงานดังกล่าวเพราะมี OT ทำให้ได้เงินเดือนเพิ่มเกือบสองเท่า ทั้งยังกินอยู่ฟรี หลังจากทำงานได้สองปี ดร.นิเวศน์ ได้มาเรียนต่อปริญญาโทที่นิด้า สาขาการตลาด จากการชักชวนของ ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา เพื่อนสนิท

พอจบโทได้สองปี ดร.นิเวศน์จึงลาออกจากงานที่โรงงานน้ำตาล เพื่อตาม ดร.ไพบูลย์ ไปเรียนต่อปริญญาเอกที่สหรัฐอเมริกา ณ University of Mississippi โดยต้องสอบโทเฟลถึงสองรอบจึงผ่าน เนื่องจากไม่เก่งภาษาอังกฤษ

ครั้นจบปริญญาเอก ได้เป็นด็อกเตอร์ เขาจึงกลับมาเมืองไทย และเข้าสู่แวดวงการเงินเป็นครั้งแรก โดยไปทำงานที่ IFCT ก่อนจะย้ายไปทำงานที่นวธนกิจ เมื่อนวธรกิจปิดกิจการจึงไปเป็นที่ปรึกษาของดีแทค และไปทำงานที่ธนาคารนครหลวงไทยเป็นที่สุดท้าย

ดร.นิเวศน์เริ่ม “เล่นหุ้น” ในปี 2539 ระหว่างทำงานที่นวธรกิจ โดยใช้วิธีเก็งกำไร ซื้อๆ ขายๆ เหมือนนักลงทุนทั่วไป ก่อนจะเบนเข็มมาศึกษาแนวทาง “การลงทุนแบบเน้นคุณค่า” โดยอ่านคัมภีร์ของกูรูระดับโลกมากมายหลายเล่ม ที่สำคัญคือหนังสือ “The Intelligent Investor” ของเบนจามิน เกรแฮม ซึ่งเป็นเล่มเดียวกับที่จุดประกายให้ วอร์เรน บัฟเฟตต์ สนใจการลงทุน เช่นเดียวกับ ดร.นิเวศน์เองที่ตัดสินใจเลือกแนวทางนี้ตลอดมา

ในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งปี 40 ดร.นิเวศน์ได้ใช้แนวทาง Value Investment เข้าไปเก็บหุ้นไทยในภาวะที่หุ้นทั้งตลาดราคาถูกมากอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ด้วยเงินต้น “10 ล้านบาท” ที่เก็บหอมรอมริบจากการทำงานประจำมาตลอดชีวิต ก่อนจะใช้เวลาสิบปี ทำให้พอร์ตการลงทุนเติบโตขึ้นจนมีมูลค่ากว่า “1,000 ล้านบาท” !!

นอกจากการเป็นนักลงทุนแล้ว ในปี 2541 เขายังได้เขียนหนังสือชื่อ “ตีแตก” ซึ่งเป็นเรื่องราวของโอกาสและความเป็นไปได้เพื่อประยุกต์ใช้กับการลงทุน และกลายเป็นหนังสือการลงทุนยอดนิยมของเมืองไทยมาเป็นเวลากว่าหนึ่งทศวรรษจนถึงทุกวันนี้ นอกจากนี้ เขายังมีผลงานหนังสืออีกหลายเล่ม และจัดรายการโทรทัศน์ – วิทยุ ซึ่งมีผู้ติดตามเป็นจำนวนมาก

ดร.นิเวศน์ บอกว่าจุดเปลี่ยนที่ทำให้เลือกเส้นทางเดินนี้ก็เพราะเขาได้ค้นพบตัวเองแล้วว่าชีวิตของเขาจะต้องเป็น “นักลงทุน” เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เขาบอกว่าตนเองได้รู้เป้าหมายของชีวิตอย่างชัดเจน จึงเลือกที่จะทำในสิ่งที่นำตัวเองไปมุ่งสู่เป้าหมายที่ต้องการ โดยจะไม่ “แวะข้างทาง” ให้เสียเวลาอีกต่อไป

ทุกวันนี้ แม้จะไม่เป็นที่เปิดเผยอย่างเป็นทางการ แต่จากการคิดคำนวณของ VI ไทยหลายคน คาดกันว่าพอร์ตการลงทุนของ ดร.นิเวศน์ มีค่าร่วม 1,500 ล้าน หรืออาจจะเกิน 2,000 ล้านบาท เอาเฉพาะเงินปันผลของเขาแต่ละปี ก็เกินกว่าเงินต้น 10 ล้านบาทที่เริ่มลงทุนไปหลายต่อหลายเท่า

คุณูปการของ ดร.นิเวศน์ ประการหนึ่งซึ่งประเมินค่าไม่ได้สำหรับแวดวงการลงทุนไทยก็คือ เขาเป็นผู้พิสูจน์ให้ทุกคนเห็นว่า การลงทุนแบบเน้นคุณค่านั้น เป็นเรื่องที่เป็นไปได้จริงในประเทศนี้ และลบล้างความเชื่อที่ว่า ตลาดหลักทรัพย์ไทยไม่สามารถใช้การลงทุนแบบเน้นพื้นฐานออกไปได้อย่างถาวร

ทุกวันนี้ หลายคนขนานนาม ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ว่าเป็น “วอร์เรน บัฟเฟตต์ เมืองไทย” แต่ที่แน่ๆ เขาคือ “ต้นแบบของวีไอไทย” ตัวจริงเสียงจริง ชนิดที่ไม่มีใครกล้าปฏิเสธอย่างแน่นอน

วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ครึ่งชีวิต.... กับ แนวคิด 10 เรื่อง ของ Steve Jobs

 ครึ่งชีวิต.... กับ แนวคิด 10 เรื่อง ของ  Steve Jobs

1. เรา ไม่เสียใจ กับเรื่อง ที่ ได้ทำ ไม่ว่า ผล จะเป็น ยังไง ก็ตาม แต่ เราจะ เสียใจ กับ เรื่อง ที่ ไม่ได้ทำ มากกว่า

2. เรา เห็นโลก ในแบบ ที่ เราเป็น ไม่ใช่ แบบที่ มันเป็น : คนมองโลกบวก จะเห็น ทุกอย่าง เป็น โอกาส ชีวิต จะเต็ม ไปด้วย ความสุข มัน เป็น แบบนั้น จริง ๆ

3. เราต้อง ทุ่มพลัง ไปกับ เรื่อง ที่เรา ถนัดจริง ๆ ให้เราเป็น expert ในเรื่อง นั้น แล้วงาน ที่ ออกมา จะ ชั้นหนึ่ง

4. อย่ากลัว การ เปลี่ยนแปลง ผล ของมัน มักจะ ดีเสมอ ถึงตอน แรก ๆ จะดู ไม่ออก ก็ตาม

5. ทุกคำ ล้อเล่น จากเพื่อน มี ความจริง ครึ่งนึง เราเพิ่ง มาเห็นกัน ตอนโต ๆ นี่เอง

6. เวลาคือ commodity ที่ มีค่า มากที่สุด

7. พัฒนา ตัวเอง อย่าง ต่อเนื่อง และ สม่ำเสมอ วินัย ในการ พัฒนา ตัวเอง เป็นสิ่งที่ แยก ระหว่าง คนที่ สำเร็จ กับ คนที่ ล้มเหลว

8. การ ลงทุน ในครอบครัว เป็น สิ่งที่ คุ้มค่า ที่สุด : พ่อแม่ ไม่อยู่ ให้ดูแล ตลอดไป ลูก ก็ไม่ ไร้เดียงสา ตลอดไป

9. สะสม เรื่องราว ให้มากกว่า สิ่งของ : เมื่อเวลา ยิ่งผ่านไป สิ่งของ จะมีค่า กับเรา น้อยลง แต่ เรื่องราว จะมีค่า กับเรา มากขึ้น

10. เลือก คนที่ จะอยู่ รอบตัวเรา ให้ดี เพราะ ยิ่งนานวัน นิสัย ของเรา และ คน เหล่านี้ จะค่อย ๆ กลมกลืน เข้าหากัน !

วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557

กฎ 14 ข้อที่อยากให้นักลงทุนและนักเก็งกำไรทุกคนทราบและนึกถึงตลอดเวลา

กฎ 14 ข้อที่อยากให้นักลงทุนและนักเก็งกำไรทุกคนทราบและนึกถึงตลอดเวลา

เล่นหุ้นอย่างไร ให้ได้กำไร? 
1. อย่าหวังว่าจะซื้อหุ้นได้ในราคาต่ำที่สุด
2. อย่าหวังว่าจะขายหุ้นได้ในราคาสูงที่สุด
3. อย่าฝืนตลาด ถ้าเป็นขาขึ้นต้องทนรวย ถ้าเป็นขาลงต้องออกให้ไว
4. อย่าซื้อหุ้นไม้เดียว ให้ทยอยซื้ออย่างน้อย 3 ไม้
5. กำหนดจุดขายทำกำไร และจุดตัดขาดทุน
6. อย่าไปเสียดายถ้าขายหมู เพราะหุ้นมีให้เล่นอยู่เสมอ หาเมื่อไหร่ก็หาได้
7. ซื้อเพราะเหตุผลไหน ก็ให้ขายเพราะเหตุผลนั้น
8. ให้เชื่อตนเอง อย่าไปเชื่อคนอื่น
9. จะเล่นสั้น 2-3 วัน ก็อย่าไปดูพื้นฐาน 2-3 ปี มันไม่เกี่ยวกัน
10. อย่าโลภ!! เพราะการ "เล่นหุ้น" ที่ถูกวิธี ต้องมีกระสุนติดมือพร้อมยิงอยู่เสมอ
11. ของแพง ยังแพงต่อไปได้อีก อย่ากลัวที่จะซื้อหุ้นราคานิวไฮท์ 
12. ซื้อหุ้นเก็งกำไร อะไรก็ได้ แต่ซื้อแล้วขอให้มันไป ถ้าซื้อมาแล้ว 2-3 วันมันไม่ไปไหน ถือว่าเป็นหุ้นบูด ให้ขายทิ้ง แล้วหาตัวใหม่
13. อย่าสวนกระแส ตลาดเล่นอะไร ก็เล่นตามกันไป เช่นเล่นพลังงานทางเลือก ก็ไปเล่นพลังงานหลัก
14. สำคัญที่สุด.. คือ.. อย่าหวังรวยจนฐานะเปลี่ยนจากการเล่นหุ้น เพราะไม่ยั่งยืน มีได้ มีเสีย ระยะยาวแล้ว การลงทุนในหุ้นจะยั่งยืนที่สุด