วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

กลวิธี สงครามกองโจร(disco ball)


“เอ็งมา ข้ามุด เอ็งหยุด ข้าแหย่ เอ็งแย่ ข้าตี เอ็งหนี ข้าตาม” นอกจากจะนำไปใช้ในการรบแบบสงครามกองโจรแล้ว ยังมีการนำมาใช้ในตลาดหุ้นโดยรายใหญ่เสมอ

จะว่าไปแล้ว กลวิธี สงครามกองโจร ก็แสบไม่แพ้ กลวิธี สวนควันปืนเล่นสวนทางมวลชนนะครับ

ต่างกันเพียง การสวนควันปืนเล่นสวนทางมวลชนนั้น จะใช้จิตวิทยาและอำนาจเงิน ควบคุมตลาด ในขณะที่ กลวิธีสงครามกองโจร จะใช้ข่าววงในและอำนาจบริหารควบคุมราคาหุ้นตัวใดตัวหนึ่ง

ผมสังเกตเห็นตามเว็บบอร์ดหุ้นหลายแห่ง มักตั้งข้อสงสัยว่า นักวิเคราะห์บางค่าย เชียร์ซื้อให้รายใหญ่ออกของ เชียร์ขายให้รายใหญ่เข้าเก็บ นักวิเคราะห์แนะให้ซื้อ มันกลับลง พอแนะขาย มันกลับขึ้น

ผมขอฟันธงเลยว่า นักวิเคราะห์ “ส่วนใหญ่” ไม่ได้เป็นเช่นนั้น

แต่รายใหญ่ต่างหากที่กำลังทำสงครามกองโจรกับคุณ

การที่นักวิเคราะห์เชียร์ให้ซื้อแล้วลง เชียร์ให้ขาย แล้วขึ้น ไม่ใช่เพราะเขาไม่มีความรู้ ไม่ใช่เพราะเขาไม่มีเครื่องมือในการทำงานที่ดีพอนะคับ

ความรู้และเครื่องมือ ในการวิเคราะห์การลงทุนของนักวิเคราะห์ ออกจะมีมากมายหลายหลาก

แต่ทุกวันนี้ รายใหญ่ หรือ เจ้าของบริษัท เขามักจะเลือกคนเก่งกราฟ มาดูแลราคาหุ้น และใช้เครื่องมือเหล่านั้น มาหาประโยชน์ ส่วนตนอีกที

หลังจากรายใหญ่เข้าเก็บหุ้นจนมากพอ เขาก็จะเริ่มด้วยการไล่ราคาหุ้น จนกระทั่งกราฟ "สั่งซื้อ" จากนั้นเขาก็จะวางขาย รินขาย ไม่หยุดหย่อน และลงเอยด้วยการทุบเปรี้ยงลงมาเลย เมื่อแรงเคาะซื้อเริ่มหมดแรง เพื่อให้กราฟ "สั่งขาย"

หลังจากที่กราฟสั่งขายแล้ว เขาไม่ต้องทำอะไรให้เหนื่อยเลยครับ แค่นั่งรอเวลาเฉยๆ อีกไม่นาน เขาก็จะได้ซื้อหุ้นคืน ในราคาที่ต่ำกว่าเดิม ...... นี่คือความจริง ภาคสนามรบ

หลังจากมีโอกาสได้นัดพบนั่งกินข้าวกับเพื่อนสนิทคนหนึ่ง ผมก็อดไม่ได้ที่จะถามเขา ในฐานะผู้รู้ดีที่สุดแล้วในตลาด เกี่ยวกับหุ้นตัวนี้

ไม่รู้ว่า เป็นเพราะเขาเกรงใจที่ผมเลี้ยงข้าวหรือเปล่านะ ในที่สุดเขาก็เล่าให้ฟัง เมื่อผมถามว่า ทำไม หุ้นของนายถึงกวนบาทาขนาดนี้ เที่ยวซิกแซกรังแกชาวบ้าน

“นายคิดดู ถ้านายเป็นรายใหญ่ ใช้เงินสดซื้อหุ้น ไล่ราคาขึ้นมาตั้งเยอะ แต่กลับโดนใครก็ไม่รู้ ที่มีหุ้นต้นทุนต่ำ ขายใส่ตลอดทาง นายเซ็งไหม”

“นายว่า มันต้องใช้เงินมากขึ้นกว่าเดิมไหมล่ะ ในการทำราคา หากเจอแต่พวกเดย์เทรดมาจับเสือมือเปล่า กินเงินของนาย ไปฟรีๆ ในแต่ละวัน”

“เราเลยจำเป็นต้อง ลาก กระชาก ตบ เป็นระยะๆ ไม่งั้น เงินหมดตัวแน่ กว่าราคาหุ้นจะถึงเป้าหมาย ตามที่ "เจ้านาย" สั่ง”

เอ ถ้าผมบอกเจ้านี่ว่าผมจะเอาเรื่องของเขามาเขียนหนังสือ เขาจะเล่าให้ผมฟังรึปล่าวหว่า

เอาล่ะ จากนี้ไป ผมยกพื้นที่ให้เขาสาธยายเลยแล้วกัน

“ขั้นแรก เราก็จะต้องสะสมหุ้นก่อน เราจะไปเช็คกราฟจากโปรแกรมเทรด เพื่อหาจุดตัดขาดทุน และแนวรับ จากนั้น เราจะสั่งมาร์เก็ตติ้ง อีกโบรกฯ หนึ่ง ให้ตั้งซื้อรอไว้ หลายๆราคา แล้วก็สั่งมาร์เก็ตติ้งอีกโบรกฯ หนึ่ง ให้ตั้งรอซื้อไว้ที่แนวรับ แล้วก็สั่งมาร์เก็ตติ้งอีกโบรกฯ หนึ่ง ให้ตั้งออร์เดอร์รอ ในระดับราคาที่ต่ำกว่าจุดตัดขาดทุน”

“เมื่อออร์เดอร์ตั้งรอไว้หนาแน่น เราก็จะสั่งมาร์เก็ตติ้ง อีกโบรกฯหนึ่ง ให้ขายโครมลงมา ที่ฝั่งบิด นายสังเกตไหมว่า หุ้นไม่ได้หายไปไหน แค่เปลี่ยนไปอยู่ในมือของอีกโบรกฯหนึ่งแทน แต่ภาพที่ออกมามันน่ากลัวนะ เพราะบิดที่รอไว้เป็นล้านหุ้นโดนขายทิ้งจนหมดในไม้เดียว”

“นายเข้าใจใช่ไหม นี่มันเกิดผลทางจิตวิทยาขึ้นแล้ว คราวนี้ คนที่ถือหุ้นต้นทุนต่ำรายอื่น ก็จะขายทิ้งหุ้นลงมาด้วย ทำให้ออร์เดอร์ของเรา ที่ตั้งรอไว้ที่แนวรับ ได้ของมามากพอสมควรเลยล่ะ”

“จากนั้น ก็จะสั่งขายหุ้นที่เพิ่งซื้อมาเมื่อกี้นี้แหละ โครมลงมาอีกที เพื่อให้หลุดแนวรับ หรือ ให้ถึงจุดที่โปรแกรมจะต้องสั่งขาย .... เมื่อหลุดแนวรับ หรือ เมื่อถึงจุดที่โปรแกรมสั่งขาย คราวนี้ ทุกคนที่มีหุ้นอยู่ก็จะขายหนีตาย ราคามันก็จะไหลรูดดิ่งลงมาอย่างรวดเร็ว ปริมาณหุ้นที่เราตั้งซื้อไว้ในระดับราคาต่ำๆ จะได้รับคืนจนครบ”

“ถ้ายังได้ไม่ครบ แสดงว่ามีคนใจแข็งทนถืออยู่ เราก็จะสั่งบล็อกราคาซะ ขนหุ้นเอามาวางขายหนาๆที่ฝั่งออฟเฟอร์ แล้วก็ตบมั่ง ทุบลงมามั่ง บีบไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้หุ้นครบตามที่เจ้านายสั่ง”

“ตอนนี้ กราฟเสียรูปแล้วใช่ปล่าว วันรุ่งขึ้น นักวิเคราะห์ทุกโบรกฯ ก็จะออกมาแนะนำ ขาย ให้ เองแหละ เพราะกราฟมันสั่งขาย เราตั้งรอไว้ไม่นาน เดี๋ยวเราก็จะได้ของครบแล้วไง”

(point right) อ่านแล้วคุ้นๆเนอะ ข้ามุด เอ็งหยุด ข้าแหย่ เอ็งแย่ ข้าตี เอ็งหนี ข้าตาม” นอกจากจะนำไปใช้ในการรบแบบสงครามกองโจรแล้ว ยังมีการนำมาใช้ในตลาดหุ้นโดยรายใหญ่เสมอ

จะว่าไปแล้ว กลวิธี สงครามกองโจร ก็แสบไม่แพ้ กลวิธี สวนควันปืนเล่นสวนทางมวลชนนะครับ

ต่างกันเพียง การสวนควันปืนเล่นสวนทางมวลชนนั้น จะใช้จิตวิทยาและอำนาจเงิน ควบคุมตลาด ในขณะที่ กลวิธีสงครามกองโจร จะใช้ข่าววงในและอำนาจบริหารควบคุมราคาหุ้นตัวใดตัวหนึ่ง

ผมสังเกตเห็นตามเว็บบอร์ดหุ้นหลายแห่ง มักตั้งข้อสงสัยว่า นักวิเคราะห์บางค่าย เชียร์ซื้อให้รายใหญ่ออกของ เชียร์ขายให้รายใหญ่เข้าเก็บ นักวิเคราะห์แนะให้ซื้อ มันกลับลง พอแนะขาย มันกลับขึ้น

ผมขอฟันธงเลยว่า นักวิเคราะห์ “ส่วนใหญ่” ไม่ได้เป็นเช่นนั้น

แต่รายใหญ่ต่างหากที่กำลังทำสงครามกองโจรกับคุณ

การที่นักวิเคราะห์เชียร์ให้ซื้อแล้วลง เชียร์ให้ขาย แล้วขึ้น ไม่ใช่เพราะเขาไม่มีความรู้ ไม่ใช่เพราะเขาไม่มีเครื่องมือในการทำงานที่ดีพอนะคับ

ความรู้และเครื่องมือ ในการวิเคราะห์การลงทุนของนักวิเคราะห์ ออกจะมีมากมายหลายหลาก

แต่ทุกวันนี้ รายใหญ่ หรือ เจ้าของบริษัท เขามักจะเลือกคนเก่งกราฟ มาดูแลราคาหุ้น และใช้เครื่องมือเหล่านั้น มาหาประโยชน์ ส่วนตนอีกที

หลังจากรายใหญ่เข้าเก็บหุ้นจนมากพอ เขาก็จะเริ่มด้วยการไล่ราคาหุ้น จนกระทั่งกราฟ "สั่งซื้อ" จากนั้นเขาก็จะวางขาย รินขาย ไม่หยุดหย่อน และลงเอยด้วยการทุบเปรี้ยงลงมาเลย เมื่อแรงเคาะซื้อเริ่มหมดแรง เพื่อให้กราฟ "สั่งขาย"

หลังจากที่กราฟสั่งขายแล้ว เขาไม่ต้องทำอะไรให้เหนื่อยเลยครับ แค่นั่งรอเวลาเฉยๆ อีกไม่นาน เขาก็จะได้ซื้อหุ้นคืน ในราคาที่ต่ำกว่าเดิม ...... นี่คือความจริง ภาคสนามรบ

หลังจากมีโอกาสได้นัดพบนั่งกินข้าวกับเพื่อนสนิทคนหนึ่ง ผมก็อดไม่ได้ที่จะถามเขา ในฐานะผู้รู้ดีที่สุดแล้วในตลาด เกี่ยวกับหุ้นตัวนี้

ไม่รู้ว่า เป็นเพราะเขาเกรงใจที่ผมเลี้ยงข้าวหรือเปล่านะ ในที่สุดเขาก็เล่าให้ฟัง เมื่อผมถามว่า ทำไม หุ้นของนายถึงกวนบาทาขนาดนี้ เที่ยวซิกแซกรังแกชาวบ้าน

“นายคิดดู ถ้านายเป็นรายใหญ่ ใช้เงินสดซื้อหุ้น ไล่ราคาขึ้นมาตั้งเยอะ แต่กลับโดนใครก็ไม่รู้ ที่มีหุ้นต้นทุนต่ำ ขายใส่ตลอดทาง นายเซ็งไหม”

“นายว่า มันต้องใช้เงินมากขึ้นกว่าเดิมไหมล่ะ ในการทำราคา หากเจอแต่พวกเดย์เทรดมาจับเสือมือเปล่า กินเงินของนาย ไปฟรีๆ ในแต่ละวัน”

“เราเลยจำเป็นต้อง ลาก กระชาก ตบ เป็นระยะๆ ไม่งั้น เงินหมดตัวแน่ กว่าราคาหุ้นจะถึงเป้าหมาย ตามที่ "เจ้านาย" สั่ง”

เอ ถ้าผมบอกเจ้านี่ว่าผมจะเอาเรื่องของเขามาเขียนหนังสือ เขาจะเล่าให้ผมฟังรึปล่าวหว่า

เอาล่ะ จากนี้ไป ผมยกพื้นที่ให้เขาสาธยายเลยแล้วกัน

“ขั้นแรก เราก็จะต้องสะสมหุ้นก่อน เราจะไปเช็คกราฟจากโปรแกรมเทรด เพื่อหาจุดตัดขาดทุน และแนวรับ จากนั้น เราจะสั่งมาร์เก็ตติ้ง อีกโบรกฯ หนึ่ง ให้ตั้งซื้อรอไว้ หลายๆราคา แล้วก็สั่งมาร์เก็ตติ้งอีกโบรกฯ หนึ่ง ให้ตั้งรอซื้อไว้ที่แนวรับ แล้วก็สั่งมาร์เก็ตติ้งอีกโบรกฯ หนึ่ง ให้ตั้งออร์เดอร์รอ ในระดับราคาที่ต่ำกว่าจุดตัดขาดทุน”

“เมื่อออร์เดอร์ตั้งรอไว้หนาแน่น เราก็จะสั่งมาร์เก็ตติ้ง อีกโบรกฯหนึ่ง ให้ขายโครมลงมา ที่ฝั่งบิด นายสังเกตไหมว่า หุ้นไม่ได้หายไปไหน แค่เปลี่ยนไปอยู่ในมือของอีกโบรกฯหนึ่งแทน แต่ภาพที่ออกมามันน่ากลัวนะ เพราะบิดที่รอไว้เป็นล้านหุ้นโดนขายทิ้งจนหมดในไม้เดียว”

“นายเข้าใจใช่ไหม นี่มันเกิดผลทางจิตวิทยาขึ้นแล้ว คราวนี้ คนที่ถือหุ้นต้นทุนต่ำรายอื่น ก็จะขายทิ้งหุ้นลงมาด้วย ทำให้ออร์เดอร์ของเรา ที่ตั้งรอไว้ที่แนวรับ ได้ของมามากพอสมควรเลยล่ะ”

“จากนั้น ก็จะสั่งขายหุ้นที่เพิ่งซื้อมาเมื่อกี้นี้แหละ โครมลงมาอีกที เพื่อให้หลุดแนวรับ หรือ ให้ถึงจุดที่โปรแกรมจะต้องสั่งขาย .... เมื่อหลุดแนวรับ หรือ เมื่อถึงจุดที่โปรแกรมสั่งขาย คราวนี้ ทุกคนที่มีหุ้นอยู่ก็จะขายหนีตาย ราคามันก็จะไหลรูดดิ่งลงมาอย่างรวดเร็ว ปริมาณหุ้นที่เราตั้งซื้อไว้ในระดับราคาต่ำๆ จะได้รับคืนจนครบ”

“ถ้ายังได้ไม่ครบ แสดงว่ามีคนใจแข็งทนถืออยู่ เราก็จะสั่งบล็อกราคาซะ ขนหุ้นเอามาวางขายหนาๆที่ฝั่งออฟเฟอร์ แล้วก็ตบมั่ง ทุบลงมามั่ง บีบไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้หุ้นครบตามที่เจ้านายสั่ง”

“ตอนนี้ กราฟเสียรูปแล้วใช่ปล่าว วันรุ่งขึ้น นักวิเคราะห์ทุกโบรกฯ ก็จะออกมาแนะนำ ขาย ให้ เองแหละ เพราะกราฟมันสั่งขาย เราตั้งรอไว้ไม่นาน เดี๋ยวเราก็จะได้ของครบแล้วไง”

(point right) อ่านแล้วคุ้นๆเนอะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น